พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน
อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน
พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน ที่ตั้ง วัดถ้ำสิงโตทอง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เป็นอาคาร 2 ชั้น ในชั้นแรกประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นห้องสมุด มีหนังสือหลายประเภท เช่น หนังสือวิชาการ หนังสือกฏหมาย และอีกหลายเล่มที่น่าสนใจ บรรยากาศภายในห้องตกแต่งได้เป็นระเบียบ เงียบสงบ เหมาะกับเป็นที่อ่านหนังสืออย่างดี ด้านหลังจะมีบันไดและลิฟท์ขึ้นไปยังชั้นที่สอง ระหว่างทางเดินมีรูปภาพติดฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติพระพุทธเจ้า ภายในเป็นห้องของชั้นที่สอง จะจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้ง อดีตสมเด็จพระสังฆราช 19 พระองค์ และพระอริยสงฆ์ 18 รูป พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขี้นโดยมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิง มณฑินี มงคลนาวิน เนื่องในโอกาส ครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานนามสกุล “มงคลนาวิน” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2457-2557 ดำเนินการโดย ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิง มณฑินี มงคลนาวิน
ข้อมูลสถานที่
- ชื่อ : พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน
- ประเภท : พิพิธภัณฑ์
- จุดเด่น : หุ่นขี้ผึ้งอดีตพระสังฆราช 19 พระองค์ และพระอริยสงฆ์ 18 รูป ถ้ำสิงโตทอง ถ้ำแก้ว อุโบสถกรุภายในด้วยไม้สัก
- ที่อยู่ : วัดถ้ำสิงโตทอง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
- GPS : 99.64742403984 / 13.635471846935
- เปิดเข้าชม : 9.00 – 17.00 น. ทุกวัน
- ค่าเข้า : ฟรี
- สถานที่จอดรถ : กว้างขวาง
- สิ่งอำนวยความสะดวก : Free wifi ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ ลิฟท์ ข้าวไข่เจียวกล่อง 10 บาทสูตรของ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน
- โทรศัพท์ : 032-206754 , 081-7366293
ภาพถ่าย
พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน
ที่ตั้ง วัดถ้ำสิงโตทอง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
แนวคิดในการสร้าง ” พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน ” มีที่มาจากการที่ได้เข้าบูรณะปรับปรุงวัดถ้ำสิงโตทอง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี มาตั้งแต่ พ.ศ. 2533 โดยได้ร่วมกับเจ้าอาวาส จัดสร้างอุโบสถ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ (พ.ศ. 2535) เป็นสถาปัตยกรรมพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 เน้น ความเรียบง่ายแต่แข็งแรง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กภายในกรุด้วยไม้สักเพื่อสะดวกแก่การดูแลรักษา โดยดัดแปลงจากแบบเดิมของหลวงปู่โต๊ะ โดยแต่เดิมตั้งใจจะสร้างอุโบสถด้วยไม้ทั้งหลัง โดยดัดแปลงจากแบบเดิมของหลวงปู่โต๊ะ โดยใช้เหตุผลว่า “จะสร้างให้คนรุ่นหลังดูต่อไปจะหาไม้สร้างได้ยาก” ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มลคลนาวิน ได้รับเป็นประธานดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยถือคติ ไม่เบียดเบียนใคร และได้สร้าง พระพุทธปฏิมาประธานในอุโบสถ ได้รับพระราชทานนามว่า “พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าซึ่งทรงไว้ด้วย สิริ และเกียรติ” ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานเททอง เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2535 ตรงกับวันแรม 9 ค่ำ เดือน 4 ณ วัดบรวรนิเวศวิหารขนาดหน้าตักกว้าง 2.99 เมตร ฝีมือการออกแบบของคุณไข่มุกต์ ชูโต ปฏิมากรแห่งราชสำนักฯ
ใน พ.ศ. 2554 ได้สร้างอาคาร 2 ชั้นขึ้น 1 หลัง จัดเป็น “หอสมุด ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน” เพื่อรองรับบรรดาหนังสือวิชาการ และหนังสือต่างๆ จากสำนักกฎหมาย ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน สุขุมวิท ซอย 5
จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีความคิดเรื่อง “อนุสรณ์สถาน มงคลนาวิน” ซึ่งเห็นสมควรให้อาคารนี้ ชื่อ “พิพิธภัณฑ์มงคลนาวิน ” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรวมอยู่ด้วย จึงมีการปรับปรุงอย่างใหญ่ในส่วนตัวอาคารทั้งหมด ทาสีภายนอกใหม่ ทำรั้วเหล็กตามแบบพิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ปรับปรุงอาคารด้านใน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้ง 2 ชั้น นอกจากนั้นยังได้ติดตั้งลิฟท์เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ และประชาชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กได้ใช้เพื่อขึ้นนมัสการสมเด็จพระสังฆราชและพระอริยสงฆ์ชั้นบนโดยสะดวก
ได้จัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส สมเด็จพระสังฆราช 19 พระองค์ และพระอริยสงฆ์อีก 18 รูป ประดิษฐานให้ประชาชนได้ศึกษา และกราบไหว้
ชั้นหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ องค์ผู้ทรงบัญญัติพระราชบัญญัตินามสกุล และพระราชทานนามสกุล “มงคลนาวิน” ครบ 100 ปี
แผนที่
99.64742403984 / 13.635471846935