สระโกสินารายณ์
อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
สระโกสินารายณ์ สระน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตามถนนสายบ้านโป่ง – กาญจนบุรี ในเขตตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบสระน้ำขนาดกว้าง 200 เมตร ยาว 400 เมตร ลมโชยทั้งวันอากาศเย็นสบาย เหมาะกับการนั่งโอ้เอ้ใต้ต้นไม้ ให้อาหารปลา กราบไหว้สิ่งศักสิทธิ์ และจินตนาการถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของสระน้ำแห่งนี้ และเมื่อได้ทราบถึงความเป็นมายิ่งทำให้สระโกสินารายณ์แห่งนี้ดูขลังมีพลัง มากกว่าสระน้ำธรรมดาทั่วไป รวมถึงเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ บางคนเล่าว่าเคยพบเห็นพญานาคอยู่ในสระ บางคนเล่าว่าเคยพบวัตถุที่เชื่อกันว่าเป็นพระธาตุพุทธสาวก (พระสาวกที่สามารถยกจิตก้าวบรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆ นับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป) มาปรากฎให้เห็นใต้ต้นไม้รอบสระโกสินารายณ์ ทำให้บางคนที่มาพักผ่อนที่นี่ก็หวังพบเจอสิ่งเหล่านี้ด้วยเช่นกัน สถานที่นี้เป็นโบราณสถาน ห้ามดื่มสุราเสพของมึนเมา.
การเดินทาง
– ทางรถโดยสาร > รถโดยสาร สายกรุงเทพ – กาจนบุรี และ สายราชบุรี – กาญจนบุรี
– ทางรถส่วนตัว > เริ่มจากอำเภอบ้านโป่งไปตามถนนแสงชูโต (323) สู่จังหวัดกาญจนบุรี สระโกสินารายณ์จะอยู่หลังโรงงานกระดาษ สยามคราฟท์ ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
[su_heading size=”30″ margin=”10″]แผนที่[/su_heading]
[ready_google_map id=’51’]
เกี่ยวกับ เมืองโบราณโกสินารายณ์
1. สระโกสินารายณ์เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยลพบุรี ตามประวัติเดิมสระโกสินารายณ์ อยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือ ภายในตัวเมืองมีซากโบราณสถาน เรียกว่า…จอมปราสาท ตั้งอยู่กลางเมือง มีสระ 3 สระ ได้แก่ สระนาค สระเข้ และสระมังกร สระทั้ง 3 ดังกล่าวได้ถูกทำลายไปแล้ว เหลือแต่จอมปราสาทอยู่ในโรงงานกระดาษสยามคราฟท์
2. ณ บริเวณใกล้สระแห่งนี้ สมัยโบราณเป็นเมืองโกสินารายณ์ หรือเมืองสระโกสินารายณ์ ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ชาวบ้านเรียกโดยทั่วไปในจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา เรียกเมืองนี้ว่า…สัมพูกปัฏฏนะ เมืองโกสินารายณ์เป็นเมืองศูนย์การค้าริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่สำคัญเมือง หนึ่งในสมัยลพบุรี เช่นเดียวกับเมืองราชบุรี และเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี คงจะเสื่อมลงในสมัยอยุธยา
3. กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนสระโกสินารายณ์ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2522 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร มีพื้นที่ประมาณ 62 ไร่ 75.4 ตารางวา
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ
๑.จอมปราสาท
ตั้ง อยู่บริเวณกึ่งกลางเมือง น่าจะเป็นปราสาทหรือ “สุคตาลัย” (สถานบูชาพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา หรือ พระอวโลกิเตศวร ประจำโรงพยาบาล “อโรคยศาลา” ) หลังเดี่ยวขนาดไม่ใหญ่นัก ปัจจุบันตั้งอยู่กลางโรงงานกระดาษ บริษัท สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด มีการทำกำแพงล้อมรอบตัวโบราณสถาน หากอยากชมสามารถขออนุญาตเข้าชมได้
ภาพ : สภาพทั่วไปจอมปราสาท (ถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)
ภาพ : จอมปราสาทด้านทิศใต้ (ถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)
ภาพ : จอมปราสาท(จำลอง)ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)
ภาพ : ชิ้นส่วนหินศิลาแลง(จอมปราสาท)(ถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)
สภาพ เป็นเนินดินขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งในปีพ.ศ.๒๕๐๙ พบชิ้นส่วนประกอบอาคาร ซึ่งทำจากหินทรายแดงจึงทำให้สันนิษฐานได้ว่ารูปทรงของอาคารคงจะเป็นปรางค์ ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงมีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ทิศ ภายในใช้หินทรายบดเป็นฐานรากองค์ปรางค์เดิมคงจะฉาบปูน และตกแต่งส่วนสำคัญ เช่นซุ้มหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น กรอบประตู ทับหลังและกลีบขนุนสลักจากหินทรายสีแดงเป็นรูปพระพุทธรูปประดิษฐานในซุ้ม เรือนแก้ว ปัจจุบันสูญหายไปนอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนดินเผาประดับตกแต่งส่วนหลังคา
ชิ้นส่วนลายปูนปั้น พบ จากการขุดแต่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ใช้ประดับตกแต่งพระปรางค์เป็นปติมากรรมปูนปั้นขนาดเล็กรู)เทวดา หรือกษัตริย์ มนุษย์ อมนุษย์ และรูปสัตว์ต่างๆ ปูนปั้นที่เป็นหน้ายักษ์บางชิ้นมีรูปหน้ากลม แบน ตาเรียวเล็กหางตาตวัดชี้ขึ้นทั้งสองข้าง ทรงผมและเครื่องประดับศีรษะคล้ายกับขุนนางจีน จากจากโบราณวัตถุที่พบ มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบโบราณคดีในระยะสมัยเดียวกัน เช่น ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเขมร กับวัฒนธรรมทวารวดี
๒.สระมังกร สระนาค สระเข้ ปัจจุบันหมดสภาพเนื่องจากตื้นเขิน ทางเทศบาลตำบลท่าผาได้ปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสาธารณะ
๓.สระโกสินารายณ์ เชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ ยังคงสภาพสระที่ดี เป็นสระน้ำโบราณขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้าง ๒๐๐ เมตร ยาว ๔๐๐ เมตร ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ ขอบสระมีลักษณะเป็นคันดินสูง เดิมมีประตูน้ำซึ่งมีคลองขนาดเล็กเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันสำนักงานโยธาธิการจังหวัดราชบุรี ดำเนินการจัดทำเป็นสวนหย่อมปลูก ต้นไม้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนบริเวณใกล้เคียง
๔.แนวกำแพงเมือง เป็นคันดิน ขนาดความสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๑๐ เมตร ล้อมรอบสามด้าน คือ ด้านตะวันออก ด้านเหนือและด้านใต้ ปัจจุบันมีการสร้างถนนแอสฟัสท์ อยู่บนแนวคูเมืองกำแพงเมืองบางส่วน ทางเทศบาลตำบลท่าผาปรับปรุงเป็นถนนรอบสระโกสินารายณ์
ภาพ : แนวกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ (ภาพถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)
ภาพ : แนวกำแพงเมืองเดิมด้านทิศใต้ ถูกคลองชลประทานและทางรถไฟตัดผ่าน (ภาพถ่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม 2551)
ข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี
จาก Blog คุณศุภศรุต
เมืองโบราณโกสินารายณ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตามถนนสายบ้านโป่ง – กาญจนบุรี ในเขตตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผังเมืองโกสินารายณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใน “คติจักรวาล 4 ทิศ” แนวกำแพงคันดินของเมืองแทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว เพราะถูกรื้อทำถนนและปรับเปลี่ยนโดยบ้านเรือนและโรงงานใหญ่
นอก กำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 400 เมตร เรียกกันว่า สระโกสินารายณ์ เชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ ภายในตัวเมืองมีซากโบราณสถานขนาดใหญ่เรียกว่า “จอมปราสาท” ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางเมือง น่าจะเป็นปราสาทหรือ “สุคตาลัย” (สถานบูชาพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา หรือ พระอวโลกิเตศวร ประจำโรงพยาบาล “อโรคยศาลา” ) หลังเดี่ยวขนาดไม่ใหญ่นัก
เดิม เมืองโกสินารายณ์มีสระน้ำอยู่ภายในตัวเมืองรวม 4 ทิศ เรียกกันว่า สระนาค สระจรเข้ สระมังกร และสระแก้ว ซึ่งก็แทนความหมายของมหาสมุทรทั้ง 4 ที่รายล้อม “เขาพระสุเมรุ” ที่สถิตแห่งพระพุทธเจ้าสูงสุดบนสรวงสวรรค์
.
จากจารึกปราสาทพระขรรค์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมืองโกสินารายณ์ อาจจะเป็นเมืองตามชื่อ “ศัมพูกปัฏฏนะ” ที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีพระนามว่า “พระชัยพุทธมหานาถ” จำนวน 23 พระองค์ ทั่วพระราชอาณาจักร รวมทั้ง เมืองลโวทยปุระ (ลพบุรี) เมืองสุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) เมืองชัยราชปุระ (ราชบุรี) เมืองศรีวัชระปุระ (เพชรบุรี) เมืองศรีชัยสิงหปุระ (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งก็อาจจะเป็นการประกาศทั้งอำนาจทางการเมืองและการศาสนาของพระองค์ไป พร้อมกันทีเดียว
.
จอม ปราสาท สันนิษฐานว่า เป็น “ปราสาท”ที่นิยมสร้างในวัฒนธรรมแบบเขมรวัชรยาน โดยส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลง มีมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน
.
ที่จอมปราสาทมีการขุดพบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีสลักจากหินทราย ไม่มีเศียร (คงไปอยู่ในบ้านผู้ลาภมากดีแล้ว) ตั้งแต่ปี 2509 พระวรกายของพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี ตอนบนมีจะสลักรูปพระอมิตาภะปางสมาธิโดยรอบพระวรกราย และมีรูปนางปรัชญาปารมิตาประทับนั่งถือดอกบัวอยู่ที่บั้นเอวสามองค์และที่ พระอุระ(อก)อีกหนึ่งองค์ เบื้องล่างทรงผ้าโจงกระเบนสั้น ทิ้งชายผ้ามาด้านหน้า เป็นความนิยมในศิลปะเขมรแบบบายน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เป็นรูปเคารพสำคัญของลัทธิ “โลเกศวร” ซึ่งแตกออกมาจากศาสนาพุทธนิกายวัชรยานตันตระ เป็นคติที่นิยมเฉพาะในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เท่านั้นครับ เขาถือพระโลกเกศวรเปล่งรัศมีว่า “พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วย เหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง และ ความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมาก มายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย”
.
ตอน ขุดค้นในปี 2509 นั้นก็ได้พบลวดลายปูนปั้นที่ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถานจอมปราสาท ทำเป็นรูปเทพเจ้า มนุษย์ อมนุษย์ และรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นาค สิงห์ สิงห์ ช้าง ฯลฯ จำนวนมาก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก แต่ลวดลายปูนปั้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากศิลปะแบบบายนที่ประเทศกัมพูชา ด้วยมีร่องรอยการผสมผสานศิลปะแบบจีนและทวารวดีในท้องถิ่นเข้าไปด้วย
.
ปัจจุบัน ปูนปั้นและกระเบื้องเชิงชายของจอมปราสาท จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทองและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราชบุรีครับ ส่วนที่ถูกผู้คนในยุคก่อน ๆ เก็บไปสะสมก็มีมาก หายไปตามสายลมและแสงแดดก็เยอะ
เมือง โกสินารายณ์เป็นเมืองที่มีระบบชลประทานแบบใช้ “บาราย” ขนาด ใหญ่แบบเขมรโบราณ เป็นที่กักเก็บน้ำเพื่อใช้ในหน้าแล้ง จากหลักฐานสระน้ำหลายแห่งภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังพบร่องรอยการขุดคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลองเพื่อนำน้ำมาใช้หมุน เวียนในตัวเมือง เป็นระบบการกำจัดมลภาวะทางน้ำจากการอุปโภคบริโภคอีกด้วย
เมื่อ เวลาเปลี่ยนแปลงไปกว่า 800 ปี ถนนทันสมัยตัดขนานไปตามลำแม่น้ำกลอง ชุมชนก็ขยายตัว จากทุ่งป่ารกร้าง ก็กลายมาเป็นเมืองตามเส้นทางแห่งความเจริญ ปราสาทจอมปราสาทถูกรื้อไปเมื่อใดไม่ชัดเจนนัก สระน้ำทั้งสี่ก็หายไป ตื้นเขินและถูกไถถม คงเหลือแต่ สระโกสินารายณ์ ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือติดกับกำแพงเมืองเดิม