พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
อ.เมือง จ.ราชบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
ตั้งอยู่ริมถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง ใกล้กับหอนาฬิการิมแม่น้ำแม่กลอง อาคารพิพิธภัณฑ์เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดมาก่อน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2465 และจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปี พ.ศ.2526 และบูรณะเรื่อยมา จนในปีพ.ศ.2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จฯทรงเป็นประธานเปิด พิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ
ผู้สนใจสามารถชมพิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับราชบุรีใน ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ธรณีวิทยา ศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับสัตว์น้ำ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของกลุ่มชนต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี เช่น ลาวโซ่ง กะเหรี่ยงและไท-ยวน รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัด โบราณวัตถุที่โดดเด่นนอกจากพระแสงดาบราชศัสตราประจำมณฑลราชบุรีแล้ว ยังมี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ศิลปะขอมแบบบายน เป็น 1 ใน 5 องค์ที่ขุดพบในประเทศไทยซึ่งมีสภาพสมบูรณ์งดงามที่สุด
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00–16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท (เด็กเข้าชมฟรี) ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3232 1513 โทรสาร 0 3232 7235
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีสลักจากหินทราย ไม่มีเศียร (ขุดพบจากบริเวณสระโกสินารายณ์ อ.บ้านโป่ง)
พระวรกายของพระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี ตอนบนมีจะสลักรูปพระอมิตาภะปางสมาธิโดยรอบพระวรกราย และมีรูปนางปรัชญาปารมิตาประทับนั่งถือดอกบัวอยู่ที่บั้นเอวสามองค์และที่ พระอุระ(อก)อีกหนึ่งองค์ เบื้องล่างทรงผ้าโจงกระเบนสั้น ทิ้งชายผ้ามาด้านหน้า เป็นความนิยมในศิลปะเขมรแบบบายน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เป็นรูปเคารพสำคัญของลัทธิ “โลเกศวร” ซึ่งแตกออกมาจากศาสนาพุทธนิกายวัชรยานตันตระ เป็นคติที่นิยมเฉพาะในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เท่านั้นครับ เขาถือพระโลกเกศวรเปล่งรัศมีว่า “พระองค์เป็นประหนึ่งวิญญาณของจักรวาลที่ได้เปล่งประกายสารัตถะแห่งการช่วย เหลือสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากภาวะทั้งปวง และ ความรอบรู้ชั้นสูงสุดยอดที่จะเผยแผ่ให้คงอยู่ได้ยาวนานตลอดไปด้วยจำนวนมาก มายที่มีอยู่ของบรรดาพระพุทธองค์ทั้งหลายอันอยู่รอบพระวรกาย”
ข้อมูลท่องเที่ยว
ชื่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
ประเภท : พิพิธภัณฑ์
ที่อยู่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ถ.วรเดช ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทรศัพท์ : 0-3232-1513 Fax : 0-3232-7235
เปิดบริการ : 09.00–16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท(เด็กเข้าชมฟรี)
- ชาวต่างชาติ 100 บาท
- นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร นักบวชในศาสนาต่างๆ และแขกทางราชการที่ขอเข้าชมเป็นหมู่คณะไม่ต้องเสียค่าเข้าชม
บริการ : การนำชมเป็นหมู่คณะ การบรรยายทางวิชาการ บริการห้องสมุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าและข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี
ร้านจำหน่ายของที่ระลึก : จำหน่ายของที่ระลึกและหนังสือทางด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
สถานที่จอดรถ : กว้างขวางอยู่ ด้านหน้ารั้วพิพิธภัณฑ์
ภาพถ่าย
ประวัติความเป็นมา
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ประกอบไปด้วยอาคารสำคัญ 2 หลัง เป็นอาคารจัดแสดงและอาคารส่วนบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2465 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก ที่ได้รับความนิยมนำมาสร้างกันอย่างแพร่หลายในช่วงรัชกาลที่ 5-6 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2520 การจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารจะเน้นเรื่องราวของท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 เรื่องด้วยกัน ได้แก่
2.ประวัติศาสตร์และโบราณคดีของราชบุรี จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่พบในจังหวัดราชบุรี เรียงตามลำดับยุคสมัย ดังต่อไปนี้
2.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีของมนุษย์ในยุคที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ อาศัยในบริเวณจังหวัดราชบุรี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งเครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ กระดูกสัตว์ต่างๆ รวมทั้งภาชนะดินเผา กลองมโหระทึก และโครงกระดูกมนุษย์เป็นต้น
2.2 ราชบุรีในวัฒนธรรมทวารวดี จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานต่างๆ ของวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-15 โดยเฉพาะเรื่องราวของเมืองโบราณคูบัว และเทือกเขางู
2.3 ราชบุรีในวัฒนธรรมเขมร จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานของวัฒนธรรมเขมร หรือ “ลพบุรี” ที่ปรากฏในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 โดยมีโบราณวัตถุที่สำคัญภายในห้องจัดแสดงนี้ได้แก่ “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี” พบที่จอมปราสาทเมืองโบราณโกสินารายณ์ เป็น 1 ใน 5 องค์ที่พบในดินแดนประเทศไทย
2.4 ราชบุรีในสมัยสุโขทัย-ธนบุรี จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-28 จากหลักฐานชื่อเมืองราชบุรีที่ปรากฏในศิลจารึกสมันสุโขทัย ราชบุรีเป็นเมืองท่า เมืองหน้าด่าน และเส้นทางการเดินทัพสมัยอยุธยา โดยจัดแสดงหลักฐานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เครื่องถ้วยจีน และเครื่องปั้นดินเผา
2.5 ราชบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วง พ.ศ.2325-2475 แสดงถึงความสำคัญของเมืองราชบุรี ในด้านการเมืองการปกครอง การพัฒนาท้องถิ่น ต่อเนื่องจากสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (ร.7)
4.1 มรดกดีเด่นทางวัฒนธรรม เช่น สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว ปูชนียวัตถุที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประเพณีวัฒนธรรม เทศกาลประเพณี อาหารพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
4.2 มรดกดีเด่นทางธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางธรรมชาติ เช่น อุทยานหินเขางู โป่งยุบ แก่งส้มแมว เป็นต้น รวมทั้งต้นไม้และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
4.3 บุคคลสำคัญ ได้แก่บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัดในด้านต่างๆ เช่น ปูชนียบุคคลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญทางด้านทหาร การเมืองและการปกครอง รวมทั้งบุคคลสำคัญทางด้านวัฒนธรรมและศิลปินเพลงพื้นบ้านต่างๆ
5.ราชบุรีในปัจจุบัน จัดแสดงสภาพทั่วไปของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การอุตสาหกรรม การเกษตร ประชากร และที่สำคัญคือ พระราชกรณียกิจแห่งองค์พระบามสมมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อจังหวัดราชบุรี อาทิเช่น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม เป็นต้น
อาคารกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรี
ลักษณะเป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่นเดียวกับอาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม มีแผผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ ยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องว่าว และด้านหน้าก่อมุขยื่นออกไป สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2416 ในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เพื่อใช้เป็นจวนที่พักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยต้นรัชกาลที่ 5
และต่อมาได้ใช้เป็นกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรีในคราวแรกของการจัดตั้งมณฑล ราชบุรี และได้ใช้เป็นสถานที่ทำการต่างๆ ของส่วนราชการอื่นๆ ต่อมาในภายหลัง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้ขออนุญาตใช้อาคารแห่งนี้จากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อปรับปรุงให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
ปัจจุบันเป็นอาคารส่วนบริการโดยชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุน เวียนและกิจกรรมพิเศษต่างๆ ส่วนชั้นบนใช้เป็นสำนักงานและคลังจัดเก็บศิลปะโบราณวัตถุเพื่อการศึกษาของ พิพิธภัณฑ์
แผนที่
ติดต่อสอบถาม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี โทร. 032 321 513
- ททท.สำนักงานราชบุรี โทร.032 919 176
- สนง.การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี โทร. 032 322 028