ช่อมาลี

กระยาสารทน้ำอ้อย มะพร้าวน้ำหอม

กระยาสารท เป็นขนมที่มีประเพณี และมีวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว  ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล   กระยาสารทมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว กระยาสารทมักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10

ถ้ากล่าวถึงร้านกระยาสารทที่มีชื่อเสียงของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ก็ต้องมีชื่อร้าน “ช่อมาลี” อยู่แน่นอน ทำขายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538  โดยคุณสุมาลี ซึ่งเป็นเจ้าของตรา “ช่อมาลี” สืบทอดเทคนิคสูตรการทำจากคุณแม่ ที่สมัยก่อนทำไปวัดตามประเพณี จนพัฒนามาเป็นอาชีพ ด้วยเพราะความอร่อย หอมกรอบ หวาน มัน ทำสดใหม่ไม่มีวัตถุกันเสีย ทำให้กระยาสารทช่อมาลีเป็นที่นิยมมีชื่อเสียง มีพ่อค้าแม่ค้ามารับไปขายต่อมากมาย และสืบทอดแตกแขนงไปยังลูกเปิดร้านขยายสาขา ได้รับเชิญออกงาน OTOP  จึงการันตีได้ถึงตำนานความอร่อยของร้าน “ช่อมาลี” กระยาสารทน้ำอ้อย มะพร้าวน้ำหอม

วัตถุดิบ ถั่ว งา คัดมาพิเศษ ความหวานได้จากน้ำอ้อยซึ่งมาจากสุพรรณบุรี เนื้อมะพร้าวอ่อนจากดำเนินสะดวก ลูกเกต เม็ดมะม่วง


กระยาสารทร้านช่อมาลี มี 3 แบบ

  1. กระยาสารทน้ำอ้อย
  2. กระยาสารทใบเตย
  3. กระยาสารทร่วน

เปิดขายทุกวัน 7.30 – 17.00 น.

โทร. 083 7111783


กระยาสารทใบเตย

คุณสุมาลี เจ้าของกระยาสารท “ช่อมาลี”

ร้านตั้งอยู่ในซอยวันเวย์ ตลาดบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

 

แผนที่ร้าน

 

ข้อมูลเกี่ยวกับ กระยาสารท จากวิกีพีเดีย

กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท

แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน

ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป

เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน

คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 นี้จึงมีการกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง

ถึงเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ

กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย

นอกจากนี้ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานกวนกระยาสารท กล้วยไข่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา ในวันงานจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทอดผ้าป่าแถว การประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น กล้วยไข่ รวมทั้งการแสดงสินค้าพื้นเมืองด้วย


สนับสนุนข้อมูลโดย

ท่าเรือศาลาไทย ดำเนินสะดวก

บริการเรือนำเที่ยวตลาดน้ำ วิถีชีวิตริมคลองดำเนิน ไหว้พระ ชมสวน

โทร. 087 003 3885